วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ประวัติความเป็นมา


เม็ดขนุน
        เม็ดขนุน เป็นขนมที่ถือเป็นยอดขนม ในสมัยโบราณชนิดหนึ่งใช้สำหรับเลี้ยง พระหรือเลี้ยงแขกโดยในสมัยโบราณจะ ใช้เม็ดขนุนต้มให้สุกแล้วบดละเอียดนำ ไปกวนแล้วปั้นให้เหมือนเม็ดขนุนจริงๆ จึงเรียกว่าเม็ดขนุนในปัจจุบันใช้วัสดุ หลายอย่างเช่นแห้ว เผือก สาเก และถั่วเขียว แต่ที่ได้รับความนิยมจะเป็นเม็ดขนุนถั่วและเผือก
ความหมาย
     เป็นหนึ่งใน ขนม ตระกูลทองเช่นกัน มี สีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะ
คล้ายกับ เม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วย ถั่วเขียวบด มี ความเชื่อ
กันว่า ชื่อของ ขนมเม็ดขนุน จะเป็น สิริมงคล ช่วยให้มีคนสนับสนุน หนุนเนื่อง
ในการดำเนินชีวิตและในหน้าที่การงานหรือ กิจการต่างๆ ที่ได้กระทำอยู่
   
แหล่งที่มา:http://www.sites.google.com

สูตรขนมหวานไทย : เม็ดขนุน
 เครื่องปรุง + ส่วนผสม



* ถั่วเขียวเลาะเปลือก 450 กรัม
* น้ำตาลทราย 200 กรัม (สำหรับผสมถั่ว)
* น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำเชื่อม)
* น้ำกะทิ 400 กรัม
* น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำเชื่อม)
* ไข่เป็ด 5 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่แดง)                              

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาด และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที)

2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้ว ให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้า พร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี

3. จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว (ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น (ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้)

4. ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงเม็ดขนุน

5. ทำน้ำเชื่อมโดยผสมน้ำตาลและน้ำเปล่า นำไปเคี่ยวในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้) จนเหนียวข้นเป็นยางมะตูม จึงปิดไฟ
6. ตอกไข่และเลือกเอาเฉพาะไข่แดงมารวมกัน เขี่ยพอให้ไข่แดงแตก จากนั้นจึงนำเม็ดขนุนที่ปั้นเตรียมไว้ใส่ลงไปแช่ในไข่แดงทีละเม็ด แล้วจึงนำไปใส่ในน้ำเชื่อม พยายามอย่าให้ติดกัน พอใส่ลงไปมากแล้วจึงนำกระทะไปตั้งบนไฟอ่อนๆจนสุกทั่งจึงตักออกมาพัก ทำซ้ำเช่นนี้จนเม็ดขนุนที่ปั้นไว้หมด

7. จัดเม็ดขนุนใส่จาน เสริฟทานเป็นของว่างในวันสบายๆ

แหล่งที่มา:http://www.ezythaicooking.com


วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

                        ประวัติความเป็นมาของขนมตะโก้
          

            ตะโก้ เป็นขนมที่มีส่วนผสม คือแป้งกะทิและน้ำตาลทรายเป็นหลัก ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวขนมเป็นแป้งและน้ำตาล และส่วนหน้าขนมเป็นกะทิ แป้งและเกลือส่วนผสมของตัวขนมสามารถผสมวัตถุดิบ อื่นเพื่อให้เกิดรสชาติที่หลากหลาย เช่น แห้วข้าวโพด เผือกหรือจะเพิ่มสีเขียวของใบเตย และมีชื่อเรียกตาม วัตถุดิบที่ผสมลงไป เช่น ตะโก้แห้ว ตะโก้เผือก เป็นต้น
         ทุกวันนี้มีขนมหลากหลายชนิดให้เลือกทานได้ไม่รู้เบื่อ แต่ที่ใกล้ตัวอย่าง “ขนมไทย” นับวันจะถูกขนมชาติอื่นมาช่วงชิงความนิยม ซึ่งขนมไทยแท้นั้นจะมีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาล และกะทิเป็นหลัก อย่างไรก็ดี วันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูลขนมไทยโบราณ ที่อร่อย และครองความนิยมไม่กลัวเกรงขนมชาติอื่น อย่าง ตะโก้เผือก” มานำเสนอ
         ศศิธร สุนทโรทก หรือ คุณแตน อายุ 46 ปี เจ้าของร้านแตน ขนมหวาน  ตลาดรามอินทรา กม.เล่าให้ฟังว่า เดิมนั้นประกอบอาชีพขายแกงถุงและข้าวเป็นหลัก ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำสืบต่อมาจากคุณแม่ พอแต่งงานมีครอบครัวก็เปลี่ยนจากขายแกงมาทำขนมขาย อาศัยพื้นฐานการทำอาหารเป็นครูพักลักจำ และศึกษาจากนิตยสารอาหารต่าง ๆ แล้วทดลองทำ  ขนมอะไรที่ทำไม่ได้ หรือขั้นตอนไหนไม่เข้าใจ ก็จะถามจากผู้รู้ แล้วมาดัดแปลงปรับให้เข้ากับที่ตัวเองชอบชอบกินขนมหวานตั้งแต่เด็กแล้ว และฝันอยากทำขนมหวานอร่อย ๆ ให้คนกิน พอแต่งงานแยกครอบครัวออกมาก็เลยถือโอกาสเปลี่ยนอาชีพจากทำแกงถุงมาเป็นทำขนมหวานขาย โดยเริ่มจากขนมน้ำหรือขนมถุงก่อน ทำเองชิมเอง เชื่อมั่นในรสปากตัวเอง ถ้าชิมอร่อยก็ใช้ได้เลย เช่น กล้วยบวชชีมันแกงบวดเผือกแกงบวดสาคู-ข้าวเหนียวถั่วดำเปียกสาคูเปียกข้าวโพดเปียกลำไย,เปียกลูกเดือยเปียกรวมมิตรครองแครงกะทิสดบัวลอยเบญจรงค์เต้าส่วนลูกตาลลอยแก้ว ทำสลับสับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ทุกวัน 7-8 อย่าง และทำเหนียวมูนกับหน้าต่าง ๆ เพื่อรองรับกับหน้ามะม่วงด้วย ตามด้วยตะโก้ ซึ่งขายดีจนกลายเป็นขนมตัวหลัก  ลูกค้าที่มาซื้อจะเห็นเราทำใหม่  ๆ สด ๆ  เพราะจะทำไปขายไปกันเลย
       มาจาก : http://www.isaansmile.com/kahnomthai/14.php 
                    http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=167240



ขนมหวานไทย : ขนมตะโก้

สำหรับทำตัวตะโก้
* แป้งถั่วเขียว 1 ถ้วยตวง
* น้ำกลิ่นมะลิ 3 ถ้วยตวง
* น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
* น้ำใบเตยคั้น 1/2 ถ้วยตวง
* แห้วต้มหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า 1/2 ถ้วยตวง
* กระทงหรือแบบสำหรับใส่ขนม

สำหรับทำหน้าตะโก้
* แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วยตวง
* กะทิ 2 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. เตรียมทำตัวตะโก้ โดยผสมแป้งถั่วเขียว, น้ำตาลทราย, น้ำใบเตยและ น้ำกลิ่นมะลิ เข้าด้วยกันในหม้อ และนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง กวนจนสุกและข้น
2. จากนั้นใส่แห้วจีนต้มที่หั่นเตรียมไว้ลงไปในหม้อ กวนต่ออีกสักครู่จึงปิดไฟ ตักตัวตะโก้หยอดในกระทงหรือแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้ประมาณครึ่งนึงของแบบ

3. เตรียมทำหน้าตะโก้ โดยผสมแป้งข้าวเจ้า, กะทิ และเกลือป่น เข้าด้วยกันในหม้อขนาดเล็ก จากนั้นนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง กวนจนข้นพอดี จึงปิดไฟ
4. หยอดหน้าตะโก้ลงบนกระทงหรือแบบให้เต็ม ทิ้งไว้ให้เย็น จัดใส่จานเสริฟเป็นของว่างได้ทันที

เเหล่งที่มา:http://www.ezythaicooking.com
























                           ประวัติขนมโค

           ขนมโค ขนมพื้นบ้านชาวปักษ์ใต้ ภาษามาลายูถิ่นเรียกว่า ตือปง นอแน คล้ายขนมต้มขาวของคนภาคกลาง เชื่อว่าเป็นขนมโบราณที่ยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
ขนมโคหรือตือปง นอแน ยังมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาตร์กับพื้นที่ภาคใต้มาอย่างยาวนาน จากความเชื่อของคนพื้นถิ่นที่ว่า ขนมโค เป็นขนมมงคล ใช้บนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือทั้งผี-พราหมณ์-พุทธ เช่น หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระพิฆเณศ  เป็นต้น
และคงไม่แปลกอะไร ที่ชาวบ้านจึงได้นำวัสดุท้องถิ่นมาทำเป็นขนมเพื่อบูชา แทนการใช้ขนมลาดูที่ชาวอินเดียบูชาองค์พิฆเณศ ซึ่งทางปักษ์ใต้เอง ก็มีขนมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ขนมดู ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล มะพร้าว เช่นเดียวกับขนมลาดู
แต่ขนมดูนั้นยังไม่อยู่ในความรับรู้ว่า สามารถนำมาใช้บูชา บนบานองค์พิฆเณศได้หรือไม่ หรืออาจไม่เป็นที่นิยมเพราะไม่อร่อยเหมือนกับขนมโค ซึ่งได้รับความนิยมสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันมากกว่า ทำให้ความรับรู้นั้นคลี่คลาย และลืมเลือนไป
            อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ทางประวัติศาตร์ของขนมโคกับพื้นถิ่นใต้นั้นน่าจะสืบเนื่องมาจาก บริเวณคาบสมุทรภาคใต้  ในอดีตเป็นสะพานเชื่อมโยงการค้าระหว่างโลกตะวันออก(จีนเป็นหลัก)-ตะวันตก(อินเดีย อาหรับ โรมัน)
เกิดเป็นชุมชนสถานีการค้าเมืองท่าทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน บรรดาพ่อค้าจากอินเดียและจีนเดินเรือเลียบชายฝั่งมาแลกเปลี่ยนสิ่งของ ตั้งถิ่นฐาน เช่นเมืองตะโกลา (Takola) หรือตะกั่วป่า เมืองไชยา แหลมโพธิ์ สุราษฎร์ธานี ตามพรลิงค์ นครศรีธรรมราช  ซิงก่อร่า สงขลา(บริเวณคาบสมุทรสทิ้งพระ) ในการเข้ามาของพ่อค้านัก บวช(พราหมณ์-พุทธ)จากอินเดียนั้น ได้นำลัทธิ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธ เข้ามาเผยแพร่ เกิดการผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่น(ผี) ความเชื่อเหล่านี้ได้ฝังหยั่งรากลึกลงบบผืนดินแห่งคาบสมุทร กลายเป็นวัฒนธรรมความเชื่อ การเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนถึงรูปแบบพิธีกรรมเฉพาะถิ่นใต้ขึ้น เช่นการบนบานองค์พิฆเณศ ด้วยขนมโค เป็นต้น
           นอกจากนี้  ขนมโค ยังมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ในเขตพื้นที่ลุ่มปลูกข้าวและการทำตาลโตนด
ชาวปักษ์ใต้นิยมทำขนมโคไว้ทานเล่น เพราะทำได้ง่าย 
เเหล่งที่มา:http://www.pattanilocal.go.th


ส่วนผสม
    แป้งข้าวเหนียวแห้ง  2  ถ้วย
    น้ำต้มใบเตย  ½  ถ้วยตวง
    น้ำปูนใส  2  ช้อนโต๊ะ
    น้ำตาบปึก  1  ถ้วยตวง  (หั่นเป็นสีเหลี่ยมลูกเต๋า)
    มะพร้าวขูด เกลือป่นเล็กน้อย

วิธีทำ
   -นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำปูนใสและน้ำใบเตยจนนุ่มพอที่จะปั้นได้สะดวก ควรนวดนานๆ อย่างน้อย 20 นาที แล้วใช้  ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมพักไว้อีก  30 นาที เป็นอย่างน้อย
   -ขูดมะพร้าวด้วยที่ขูดมือเป็นเส้นฝอยเล็กๆ แล้วเคล้ากับเกลือถ้าต้องการเก็บไว้หลายชั่วโมง ให้นำขึ้นนึ่งให้ร้อนจัดเสียก่อนใช้
   -คลึงแป้งที่นวดเตรียมไว้ออกเป็นแท่งกลมยาวแล้วใช้มีดตัดเป็นท่อนสั้น แต่ละท่อนเมื่อคลึงให้กลมแล้วจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ½ เซนติเมตร
   -เมื่อแผ่แป้งแต่ละก้อนให้เป็นแผ่นบางตามขนาด ใส่น้ำตาลปึกที่เตรียมไว้ลงตรงกลาง แผ่นละ 1 ชิ้น ตลบชายหุ้มน้ำตาลให้มิด แล้วคลึงให้กลม
   -ต้มน้ำให้เดือด นำแป้งที่ปั้นไว้ลงต้ม พอแป้งสุกจะลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ ใช้ทัพพีโปร่งตักขึ้น ชุบน้ำเย็น สะบัดให้สะเด็ดน้ำ แล้วใส่ลงในมะพร้าว ที่คลุกเตรียมไว้แล้ว คลุกให้เข้ากัน เป็นอันเสร็จจัดลงจานพร้อมเสิร์ฟได้

ข้อแนะนำ
-ถ้าแป้งแห้งไป เติมน้ำได้อีกครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ จนแป้งนิ่มพอจะปั้นได้สะดวก
เเหล่งที่มา:http://www.doonaat.com

เรียบเรียงบทความโดย :  คุณปวีณา


        ประวัติความเป็นมาของขนมชั้น



สมัยสุโขทัย   ขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือ จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วยและเริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศ ทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ขนมชั้น
           ประโยชน์ของใยอาหารในขนมไทย “ใยอาหาร” หรือ “Fiber” เป็นอาหารอีกหมู่หนึ่งที่ร่างกายมีความต้องการไม่น้อยไป กว่าอาหารหลักหมู่อื่น ใยอาหารนี้แท้ที่จริงแล้วคือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ใช่แป้ง ซึ่งเป็ส่วนประกอบของ พืช ผัก และผลไม้ที่รับประทานได้ แต่ไม่ถูกย่อยโดยน้ำย่อยในระบบย่อยอาหาร เมื่อผ่านลำไส้ใหญ่บางส่วนจะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ ทำให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไฮโดรเจน น้ำ และกรดไขมันสายสั้นๆ ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ด้วยเหตุนี้ ใยอาหารจึงมีผลช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งที่อาจปะปนมากับอาหาร ซึ่งร่างกายสามารถขับถ่ายมาพร้อมกับอุจจาระ ช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเรสเตอรอลในเส้นเลือดได้และเพื่อสุขภาพที่ดีเรา ควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยอาหารในปริมาณ 25-30 กรัมต่อวัน ซึ่งในขนมไทยต่างมีใยอาหารประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้นกากใยอาหารในผักและผลไม้ ที่นำมาใช้ทำขนม อย่างเช่น กล้วยบวดชี บวดเผือก บวดฟักทอง ยังคงสภาพอยู่กากใยเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการขับถ่ายของร่างกายทีเดียว ในขณะที่ ขนมพันธุ์ใหม่ที่ในยุคนี้จะเป็นขนมที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายหลายขั้นตอน มาก แป้งที่ใช้ทำขนมก็จะถูกฟอกขาว มีสารเคมีสังเคราะห์มากมายเข้าไปเป็นส่วนผสมทั้งในแป้งและน้ำตาล ซึ่งจะย่อยสลายทันทีในปาก เกิดกรดทำให้ฟันผุได้ทันที และความที่อาหารมีกากใยน้อยลง โรคที่ตามมาอีก คือ อาการท้องผูก ปัจจุบันกลายเป็นปัญหาของเด็กอย่างยิ่ง บางบ้านถึงกับทะเลาะกันระหว่างแม่กับพ่อเรื่องการถ่ายของลูก
 แหล่งที่มา http://bankhanomdl.com/4.html

สูตรขนมหวานไทย : ขนมชั้น

เครื่องปรุง + ส่วนผสม ขนมหวานไทย
         
            *แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
          * แป้งท้าวยายม่อม 2 ถ้วยตวง
          * น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง
          * น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง
          * กะทิ 6 ถ้วยตวง
          * น้ำดอกอัญชัญ 2 ช้อนโต๊ะ  (หรือน้ำใบเตยคั้นสด, หรือใช้สีผสมอาหารตามแต่สีที่ต้องการ)
  
วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
         
            1. นำดอกอัญชันล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นใส่น้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเตรียมน้ำดอกอัญชัญ กรณีต้องการทำสีเขียวจากใบเตย ก็นำเอาใบเตยไปล้างให้สะอาดและนำไปปั่นใส่น้ำและกรองด้วยผ้าขาวบาง กรณีต้องการสีอื่น อาจใช้สีผสมอาหารแทน
          2. นำน้ำลอยดอกมะลิไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ผสมน้ำตาลทรายลงไป คนจนละลายดีเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
          3. นำแป้งทั้งสองชนิด ผสมกับกะทิ นวดให้เหนียว จากนั้นใส่น้ำลอยดอกมะลิที่ผสมน้ำตาลแล้ว (ขั้นตอนที่ 2) ลงไปผสมให้เข้ากัน
          4. แบ่งแป้งที่ผสมแล้วออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งไว้ทำสีขาว และส่วนที่สอง ไว้ทำสีม่วงโดยเติมน้ำดอกอัญชัน (น้ำใบเตยหรือสีผสมอาหาร)ลงไปคนให้เข้ากัน
          5. นำถาดที่ต้องการ (หรือแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้) ใส่บนลังถึงตั้งบนไฟแรง ๆ พอน้ำเดือดเปิดฝา ตักแป้งสีขาวเทใส่ลงในถาดเกลี่ยให้ทั่วถาดบางที่สุด ปิดฝาเพื่อให้สุกประมาณ 5 นาที เปิดดูแป้งจะมีลักษณะใส จากนั้นตักแป้งสีม่วง (หรือสีที่ผสมลงไป) ใส่ลงไป อีก ทำสลับกันจนแป้งหมด (เคล็ดลับ : ควรใช้ภาชนะที่มีความจุเท่ากันในการตวงแป้งเทแต่ละชั้น เพื่อที่จะได้แป้งที่มีความหนาเท่า ๆ กัน)
          6. นึ่งจนขนมสุกทั้งหมด แล้วยกลงทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 2 ชั่วโมงจึงตัดเป็นชิ้นเพื่อเสริฟ (เคล็ดลับ : ก่อนที่จะเทแป้งเพื่อทำชั้นต่อไปทุกครั้ง จะต้องแน่ใจว่าขนมในชั้นล่างนั้นสุกแล้วจริง ๆ ไม่เช่นนั้น แป้งชั้นนั้นจะไม่สุกเลย ถึงแม้จะใช้เวลานึ่งนานเท่าใดก็ตาม)
               
เเหล่งที่มา http://www.ezythaicooking.com